ใช้ Amotosalen (สารสังเคราะห์เลียนแบบธรรมชาติ) ร่วมกับการฉายรังสี ultraviolet A (UVA) เพื่อจับและ blocked nucleic acids ของ DNA/RNA ทำให้เชื้อจุลชีพไม่สามารถแบ่งตัวเพิ่มจำนวนในเกล็ดเลือดได้ เชื้อจุลชีพที่สามารถลดได้ด้วยการทำ PI เช่น ไวรัส แบคทีเรีย และปรสิต และเม็ดเลือดขาว lymphocyte ซึ่งสามารถลดได้มากกว่า 4 Log Reduction (99.99%) ทำให้ผู้ป่วยได้มีโอกาสใช้เกล็ดเลือดที่มีคุณภาพความปลอดภัยสูง ซึ่งการทำให้ผลิตภัณฑ์เกล็ดเลือดปลอดเชื้อจุลชีพ ด้วยเทคนิค Amotosalen (Psoralen) + UVA นั้นมีความสามารถ Inactivate pathogen ได้หลายชนิดที่มีความสำคัญในประเทศไทย เช่น

  • แบคทีเรียที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อในกระแสโลหิต ได้แก่ Staphylococcus epidermis, Staphylococcus aurous, Propionibacterium acnes, Streptococcus pyogenes, Serratia marcescens, Yersinia enterrocolitica, Bacillus cereus (vegetative form), Escherichia coli, Enterobacter cloacae และ Klebsiella pneumonia
  • ไวรัสที่สามารถติดต่อจากการให้เลือดหรือส่วนประกอบเลือด ได้แก่ Hepatitis B, Hepatitis C, Chikungunya และ Cytomegalovirus (CMV)
  • เชื้อในกลุ่มปรสิตที่ AABB (American Association of Blood Blanks) แนะนำให้ตรวจเพื่อความปลอดภัยในการให้เลือด ได้แก่ Babesia, Leishmania Mexicana, Trypanozoma cruzi (Chagas’ disease ) และ Plasmodium falciparum (malaria)

*** ได้รับการรับรองให้ใช้ผลิตภัณฑ์โดย USFDA ได้รับการรับรองคุณภาพของผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐาน EU Medical Device Class III

ข้อดีของเกล็ดเลือดที่ทำ PI
  • ลดความเสี่ยงการเกิด TTI, Sepsis จากการปนเปื้อนของแบคทีเรีย ,TA-GvHD และภาวะการติดเชื้อ CMV
  • ลดความเสี่ยงของ Window period ในการตรวจคัดกรองเชื้อที่เป็นโรคติดต่อทางกระแสเลือด
  • ลดการเกิด Transfusion Reaction
  • ยับยั้งการเพิ่มจำนวนและยับยั้งการทำงานของเชื้อ Bacteria, Virus, Protozoa และ lymphocyte
  • ช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อของโรคอุบัติการณ์ใหม่ (emerging disease)
  • สามารถใช้ทดแทนการฉายแสงด้วยรังสีแกมมาได้ โดยคุณภาพของเกล็ดเลือดไม่ถูกทำลาย
ข้อบ่งใช้
  • ใช้รักษาผู้ป่วยที่ต้องการรับเกล็ดเลือด สาเหตุจากเกล็ดเลือดต่ำหรือทำงานผิดปกติ 
  • สามารถใช้แทนเกล็ดเลือดชนิดฉายรังสีได้ ในผู้ป่วยปลูกถ่ายไขกระดูกหรือเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต เพื่อลดการเกิดภาวะ Transfusion-associated graft versus host disease (TA-GVHD) เนื่องจากมีการ inactivate donor T-cell 8,9,10
  • ผู้ป่วยที่เปลี่ยนถ่ายอวัยวะ (organ transpant) เช่น ปลูกถ่ายไต 
  • เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการรับเล็ดเลือดที่เป็น CMV negative 
  • ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดหรือรังสีรักษาที่จำเป็นต้องรับเกล็ดเลือด 
  • ผู้ป่วยเด็ก ทารก ทารกในครรภ์ หญิงตั้งครรภ์ และผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำ
  • ผู้ป่วยผ่าตัดใหญ่ที่จำเป็นต้องรับเกล็ดเลือด เช่น ผ่าตัดหัวใจ
  • ผู้ป่วยที่ต้องการรับเกล็ดเลือดต่อเนื่องระยะยาวเพื่อลดความเสี่ยงจากอาการไม่พึงประสงค์
เอกสารอ้างอิง : 1.FDA Guidance for Industry, Sept 2019,2.AABB, 31th edition, 2018,3.Package Insert, Cerus 2018,4.FDA Babesiosis 2019,5.WHO guidance 2016,6.ECDC Zika 2016,7.FDA Zika Guidance, July 2018 ,8.Corash L, Lin L Mini review novel processed for inactivation of leukocytes to prevent transfusion-assosiated-graft-versus-host disease. Bone Marrow Transplantation 2004; 33: 1-7,9.Irsch J, Lin L Pathogen inactivation of platelet and plasma blood components for transfusion using the Intercept blood systemTM Transfusion Medicine and Hematotherapy 2011;38 19-31.,10.Schienke P Protection against Transfusion-Association the Only Answer?. Transfusion Medicine and Hematotherapy 2004; 31: 24-31.